วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2560



ที่พวกเราเรียกว่า LCD นั้น มาจากคำว่า Liquid Crystal Display ครับ หลักการทำงานของมันอาศัย-ของเหลวพิเศษที่มีคุณสมบัติการบิดแกนโพราไรซ์ของแสงครับ  ถ้าจ่ายแรงดันไฟฟ้าเข้าไประหว่างสารเหลวนี้  โมเลกุลของมันจะบิดตัวและทำให้แสงไม่สามารถผ่านกระจกออกมาได้  ถ้าไม่มีการจ่ายแรงดันไฟฟ้าแสงจะทะลุผ่านออกมาได้

รูปด้านล่างอธิบายความได้เป็นอย่างดีครับ  การทำงานของมันเกิดจากกระจกโพลาไรซ์ 2 แผ่น ที่มีแกนตั้งฉากกัน   ดังนั้นถ้าไม่ทำอะไรเลยแสงจะไม่สามารถลอดผ่านออกมาได้  เหมือนเอาแว่นตาโพลาไรซ์สองอันมาบิดทำมุมตั้งฉากกัน แสงจะไม่ลอดผ่าน  ทีนี้มีคนไปพบว่ามีของเหลวชนิดนึงที่ปกติแล้วจะสามารถ "บิดแกนโพลาไรซ์ของแสง" ได้ ก็เลยเกิดความคิดเอามาทำจอ LCD

ถ้าไม่มีการจ่ายแรงดันเข้าไป  สารเหลวที่ว่านี้จะบิดแกนโพลาไรซ์ของแสงไป 90 องศา ทำให้แสงสามารถลอดออกมาได้จากกระจกโพลาไรซ์คู่นี้ได้   ในทางกลับกัน ถ้ามีแรงดันจ่ายไประหว่างสารเหลวนี้  จะไม่เกิดการปิดตัวของแสง ทำให้แสง "ไม่สามารถ" ลอดออกมาได้ครับ

ทีนี้ก็มีการนำหลักการนี้มาใช้หลายแบบครับ แบบแรกง่ายๆ ก็คือการเอาอิเล็กโทรดที่บังคับการทำงานของของเหลวได้นี้มาทำเป็นรูปตัวเลข ก็จะเห็นแบบที่ใช้ในเครื่องคิดเลข   หรือ โดยประกอบเซลล์เล็กๆ ขึ้นมาเป็นเมตริกซ์ ทำให้สามารถควบคุมให้เป็นตัวอักษร หรือ รูปภาพได้  

แรกๆที่ทำออกมาก็ไม่ซับซ้อนครับ ใช้ทำเครื่องคิดเลขบ้าง นาฬิกาบ้าง  ต่อมาก็เอามาทำจอ LCD Matrix  จากนั้นเริ่มมีการผสมสี RGB และทำให้จอมีความละเอียดมากขึ้น  (Pixel ต่อ พื้นที่่)  ก็เลยกลายเป็นทีวีจอ  LCD  สีที่เราเห็นครับ

ในบทความนี้ผมจะพูดถึงเฉพาะ LCD ชนิดที่เป็น matrix ซึ่งใช้แสดงตัวอักษรมาตรฐานนะครับ  จึงอยู่ว่าจอ LCD matrix สามารถแสงเป็นภาพ หรือ ตัวอักษรตามแต่ผู้ใช้จะควบคุม  แต่บทความนี้เอาแบบสั้นๆ คนทั่วไปใช้ละกันครับ  เลยเขียนเฉพาะการควบคุมให้แสดงตัวอักษรมาตรฐาน

หลักการทำงานก็จบไป  มาถึงรายละเอียดของตัว LCD กันบ้างว่ามีอะไรกันบ้าง มีกี่ Pin   ตารางด้านล่างนี้เป็นรายละเอียดของ PIN ของ LCD แบบที่นิยมใช้กันมากๆ คือ 16 x 2 (หมายถึง 16 ตัวอักษร 2 บรรทัดนะครับ)  ถ้าดูที่แต่ละตัวอักษรจะเห็นว่ามันเป็น matrix  5x8 ซึ่งแสดงถึงความละเอียดของตัวอักษรนะครับ

ทีนี้ Pin ของ LCD ก็จะมี 16 Pin ตามรายละเอียดในตารางครับ
Pin Description:

16 PIN ที่ว่าก็จะมีตั้งแต่ไฟเลี้ยง กราวด์ Data การควบคุมแสง การควบคุมการแสดงครับ  

สำหรับการให้ข้อมูลการแสดงบนหน้าจอ หรือ การติดต่อควบคุมการทำงานของ LCD ก็จะทำโดยผ่าน IC ของบริษัท Hitachi เบอร์ HD44780   เจ้านี้เขาทำเจ้าแรกๆ จนกลายเป็นมาตรฐานของโลกไปแล้วครับ

HD44780 สามารถคุยด้วยได้ 2 แบบหลักคือ แบบ 4 Bit  (DB4 - DB7) และ แบบ 8 Bit (DB0 - DB7)  ทั้งสองแบบนี้ก็ต่างกันตรงที่ใช้จำนวน pin จาก Arduino 4 pin กับ 8 pin ครับ    ก็แน่นอนครับ เราคงไม่อยากใช้ Port เปลือง ดังนั้นส่วนมากคนก็จะนิยมใช้แบบ 4 Pin กันครับ  แต่ก็มีความเร็วในการส่งข้อมูลช้ากว่าแบบ 8 pin ครับ   แต่ความเร็วที่ว่าก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคเลยครับ 4 bit ก็เร็วมากจนสายตาของเราแยกไม่ออกแล้วครับ    สรุปก็คือว่าผมแนะนำการต่อแบบ 4 bit ละกันนะครับ ตามภาพด้านบนก็ได้ครับ  แล้วแบบ 8 bit มีไว้ทำไมละ  คำตอบก็คือ ในยุคแรกๆ ไมโครคอนโทรลเลอร์เขาออกมาเป็นแบบ 8 bit แล้วเพื่อให้เขียนโปรแกรมไม่ซับซ้อนมากนัก ก็เลยใช้ 8 bit ให้เหมือนกัน register ในไมโครคอนโทรลเลอร์ซะครับ

สำหรับ Arduino แล้ว เราจะใช้ LCD แบบบ้านๆ ที่มีขายตามบ้านหม้อ (ถ้าดูภาพแรกก็คือ LCD อันล่าง) หรือจะใช้เป็นแบบ LCD Shield  ก็มีหลักการทำงานเดียวกัน  ใช้ library เดียวกันครับ  ถ้าใช้แบบ LCD เดี่ยวๆ ก็ต้องมาต่อขากันเองนิดหน่อย แต่ถ้าใช้ LCD Shield ก็จับยัดได้เลยครับ แถมมีปุ่มกดมาให้ด้วยครับ  ก็แล้วแต่งานที่ต้องเอาไปประยุกต์ใช้ครับ
และก็ตามสไตล์ของ Arduino ครับคือการมี library ที่่ทำให้ใช้งานได้สะดวกมากๆ  ใครที่เคยใช้ ไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวอื่นมาก่อนจะรู้สึกถึงความแตกต่างชัดเจนครับ   Library ของ LCD ก็คือ    มีคำสั่งที่สำคัญดังนี้ครับ

LiquidCrystal()  ก็ใช้ในการประกาศ Pin ที่เราจะส่งข้อมูลไปที่จอ LCD ครับ เช่น LiquidCrystal lcd(8, 9, 4, 5, 6, 7);  ก็หมายถึง RS ที่ Pin 8   Enable ที่ Pin 9 และ DB4 - DB 7 ที่ขา 4, 5, 6, 7  ตามลำดับครับ   ถ้าดูรายละเอียดในคำสั่งนี้ เราจะสามารถใช้การส่งข้อมูลแบบ 8 บิตได้ด้วยครับ

begin() ใช้ในการกำหนดลักษณะการแสดงของจอ เช่น  lcd.begin(16, 2);  คือการแสดงภาพ 16 ตัวอักษร 2 แถวครับ

print() ใช้ในการเขียนข้อความ เช่น  lcd.print("Hello !!!");

setCursor() ใช้ในการกำหนดตำแหน่งของ Cursor เช่น  lcd.setCursor(13, 1); คือให้เคอร์เซอร์ไปที่ ตัวอักษรที่ 13 และแถวที่ 1  (อย่าลืมนะครับ มันจะเริ่มนับจาก 0 ตามสไตล์ภาษา C)

cursor() ก็คือการแสดงตัว Cursor บนหน้าจอครับ เช่น lcd.cursor();
noCursor() ก็คือการซ่อน Cursor

 ที่เหลือ รบกวนไปที่ Arduino.cc นะครับ

สำคัญคือการต่อนะครับ ต้องต่อตามที่เขียนไว้ในคำสั่ง LiquidCrystal()   นะครับ Arduino จะได้สั่งงานไปถูกขา

ทีนี้เอาแบบง่ายๆ คือ Hello Arduitronics ครับ  ผมสาธิตโดยการใช้  LCD Shield  นะครับ ทีนี้ตัว  LCD Shield นี้มันก็มีการต่อขาไว้ที่ตัว LCD แบบตายตัวแล้ว เปลี่ยนไม่ได้ซะด้วย ก็ใช้ตามนี้เลยนะครับ
liquidCrystal lcd(8, 9, 4, 5, 6, 7);

ถ้าต่อเองก็เลือกเอาตามอัธยาสัยได้เลยครับ
-------------------------------------------------------------------------------------------------
/*
  LiquidCrystal Library - "Hello !!!!  Arduitronics"
 Demonstrates the use a 16x2 LCD display.  The LiquidCrystal
 library works with all LCD displays that are compatible with the
 Hitachi HD44780 driver. There are many of them out there, and you
 can usually tell them by the 16-pin interface.
 This sketch prints "Hello !!!!  Arduitronics" to the LCD
 and shows the time.
  The circuit:
 * LCD RS pin to digital pin 8
 * LCD Enable pin to digital pin 9
 * LCD D4 pin to digital pin 4
 * LCD D5 pin to digital pin 5
 * LCD D6 pin to digital pin 6
 * LCD D7 pin to digital pin 7
 * LCD R/W pin to ground
 * 10K resistor:
 * ends to +5V and ground
 * wiper to LCD VO pin (pin 3)
 Library originally added 18 Apr 2008
 by David A. Mellis
 library modified 5 Jul 2009
 by Limor Fried (http://www.ladyada.net)
 example added 9 Jul 2009
 by Tom Igoe
 modified 22 Nov 2010
 by Tom Igoe
 Modified by Arduitronics
 This example code is in the public domain.
 http://www.arduino.cc/en/Tutorial/LiquidCrystal
 */
// include the library code:
#include <LiquidCrystal.h>

// initialize the library with the numbers of the interface pins
LiquidCrystal lcd(8, 9, 4, 5, 6, 7);
void setup() {
  // set up the LCD's number of columns and rows:
  lcd.begin(16, 2);
  // Print a message to the LCD.
  lcd.print("Hello !!!");
  lcd.setCursor(0, 1);
  lcd.print("Arduitronics");
}
void loop() {
  // set the cursor to column 0, line 1
  // (note: line 1 is the second row, since counting begins with 0):
  lcd.setCursor(13, 1);
  // print the number of seconds since reset:
  lcd.print(millis()/1000);
}
-------------------------------------------------------------------------------------------------

ถ้าต่อถูกต้องก็ตามภาพด้านล่างนี้เลยครับ




อ้างอิง



https://www.arduitronics.com/article/28/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-lcd-%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%9A-arduino

วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

การใช้งาน Character LCD Display กับ Arduino
(ตอนที่2 - รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ I2C)

           จากบทความตอนที่แล้ว ที่กล่าวถึง  การใช้งาน Character LCD Display กับ Arduino (ตอนที่1 - รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Parallel) ในบทความนี้ เราจะมาอธิบายในอีกส่วนหนึ่ง คือการเชื่อมต่อจอ Character LCD Display 16x2 กับ Arduino ในฟรูปแบบ I2C (Serial) รวมถึงการนำไปใช้งานจริงและมีฟังก์ชั่นอะไรบ้างที่ใช้ในการสั่งงานจอ LCD
            ก่อนอื่นเรามาย้อนไปดูกันก่อนว่าจอ LCD ที่มีการเชื่อมแบบ I2C นั้นมีขาในการเชื่อมต่ออะไรบ้าง จอ LCD ที่มีการเชื่อมต่อแบบ I2C หรือเรียกอีกอย่างว่าการเชื่อมต่อแบบ Serial จะเป็นจอ LCD ธรรมดาทั่วไปที่มาพร้อมกับบอร์ด I2C Bus ที่ทำให้การใช้งานได้สะดวกยิ่งขึ้นและยังมาพร้อมกับ VR สำหรับปรับความเข้มของจอ ในรูปแบบ I2C จะใช้ขาในการเชื่อมต่อกับ Microcontroller เพียง 4 ขา (แบบ Parallel ใช้ 16 ขา) ซึ่งทำให้ใช้งานได้ง่ายและสะดวกมากยิ่งขึ้น สามารถดูได้จากตารางด้านล่างครับ



การควบคุมการแสดงผลของจอ LCD (I2C)
           ในการควบคุมหรือสั่งงาน โดยทั่วไปจอ LCD จะมีส่วนควบคุม (Controller) อยู่ในตัวแล้ว ผู้ใช้สามารถส่งรหัสคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของจอ  LCD (I2C) เช่นเดียวกันกับจอ LCD แบบธรรมดา พูดง่ายๆ คือรหัสคำสั่งที่ใช้ในการควบคุมนั้นเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงที่รูปแบบในการรับส่งข้อมูล ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงจอ LCD 16x2 ที่มีการส่งข้อมูลรูปแบบ I2C ที่ใช้ขาเพียง 4 ขาที่ใช้ในการเชื่อมต่อเท่านั้น
           1. GND เป็น Ground ใช้ต่อระหว่าง Ground ของระบบ Microcontroller กับ LCD
           2. VCC เป็นไฟเลี้ยงวงจรที่ป้อนให้กับ LCD มีขนาด +5VDC
           3. SDA (Serial Data) เป็นขาที่ใช้ในการรับส่งข้อมูล
           4. SCL (Serial Clock) เป็นขาสัญญาณนาฬิกาในการรับส่งข้อมูล
การรับ-ส่งข้อมูลแบบ I2C BUS


            - MCU จะทำการส่งสถานะเริ่มต้น (START Conditions) เพื่อแสดงการขอใช้บัส
            - แล้วตามด้วย รหัสควบคุม (Control Byte) ซึ่งประกอบ ด้วยรหัส ประจำตัวอุปกรณ์ Device ID, Device Address และ Mode ในการเขียนหรืออ่านข้อมูล
            - เมื่ออุปกรณ์รับทราบว่า MCU ต้องการจะติดต่อด้วย ก็ต้องส่งสถานะรับรู้ (Acknowledge) หรือแจ้งให้ MCU รับรู้ว่าข้อมูลที่ได้ส่งมามีความถูกต้อง
            - และเมื่อสิ้นสุดการส่งข้อมูล MCU จะต้องส่งสถานะสิ้นสุด (STOP Conditions) เพื่อบอกกับอุปกรณ์ว่า สิ้นสุดการใช้บัส
การเชื่อมต่อระหว่าง Microcontroller กับ LCD (I2C)
            สำหรับการเชื่อมต่อสัญญาณระหว่าง Microcontroller กับ LCD ที่มีบอร์ด I2C อยู่แล้วนั้น การส่งข้อมูลจาก Microcontroller จะถูกส่งออกมาในรูปแบบ I2C ไปยังบอร์ด I2C และบอร์ดจะมีหน้าที่จัดการข้อมูลให้ออกมาในรูปแบบปกติ หรือแบบ Parallel เพื่อใช้ในการติดต่อไปยังจอ LCD โดยที่รหัสคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงานจอ LCD ยังคงไม่ต่างกับจอ LCD ที่เป็นแบบ Parallel โดยส่วนใหญ่บอร์ด I2C จะเชื่อมต่อกับตัวควบคุมของจอ LCD เพียง 4 บิตเท่านั้น เดี๋ยวเราจะมาดูกันว่า วงจรภายในระหว่างจอ LCD กับบอร์ด I2C นั้น มีการต่อไว้อย่างไรบ้าง


            จากรูปวงจรจะเห็นได้ว่าจอ LCD และ บอร์ด I2C ได้มีการเชื่อมต่อขาสำหรับการรับส่งข้อมูลเป็นแบบ 4 บิต ขาที่เชื่อมต่อไว้คือ ขา P4 > DB4, P5 > DB5, P6 > DB6, P7 > DB7 และขา P2 > E (Enable), P1 > R/W, P0 > RS รวมไปถึงตัวต้านทานสำหรับปรับค่าความเข้มของตัวอักษร และ Switch Blacklight จากวงจรขาที่จำเป็นในการใช้งานถูกเชื่อมต่อเข้ากับตัวบอร์ด I2C และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เรียบร้อยแล้ว สถานะพร้อมใช้งานครับ


การเชื่อมต่อระหว่าง Arduino กับจอ LCD (I2C)





รายละเอียดชุดคำสั่งที่ใช้ในการสั่งงานระหว่าง Arduino กับจอ LCD
           คำสั่งที่ใช้ในการควบคุมจอ  LCD ของ Arduino แบบ I2C นั้นไม่ต่างจากจอ LCD แบบธรรมดา (Parallel) มากนัก ทั้งนี้ยังได้มีการพัฒนา Library I2C มาให้ใช้งานได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น เรามาเริ่มต้นขั้นตอนแรกในการเขียนโปรแกรมกันเลยครับ ขั้นตอนแรกคือการนำไฟล์ Library LCD (I2C) ไปไว้ใน Library ของ Arduino ก่อนเพื่อให้ง่ายต่อการเรียกใช้ Library ผู้ใช้สามารถทำตามขั้นตอนด้านล่างได้เลยครับ
           1. Download Library LCD (I2C) ก่อนครับ >> (ไฟล์ LiquidCrystal_I2C.7z)
           2. ทำการแยกไฟล์ที่โหลดมาข้างต้น แล้วนำไปไว้ยัง  C:\Program Files (x86)\Arduino\libraries (Drive ที่ได้ทำการติดตั้งโปรแกรม Arduino IDE ไว้)


            หลังจากที่เรานำไฟล์ Library ไปไว้เรียบร้อยแล้ว เราก็มาเริ่มการเขียนโปรแกรมกันเลยครับ ก่อนอื่นให้เราเรียก Library ของการสื่อสารแบบ I2C และ Library ของจอ LCD (I2C) ก่อนเลยครับ คือ Wire.h และ LiquidCrystal_I2C.h หลังจากทำการเรียก Library เรียบร้อยแล้ว เราจะมาดูกันว่ามีฟังก์ชั่นเบื้องต้นอะไรบ้างที่จะทำให้จอ LCD ของเราแสดงผล
           ฟังก์ชั่นแรก LiquidCrystal_I2C(); ใช้ในการประกาศ Address และ ขนาดของจอ รูปแบบของคำสั่งคือ LiquidCrystal_I2C lcd (Address, columns, rows); ในบทความนี้เราจะกำหนดดังนี้ LiquidCrystal_I2C lcd(0x27, 16, 2); หมายถึง Address ของจอคือ 27 ขนาดของจอคือ 16 ตัวอักษร 2 บรรทัด
           ฟังก์ชั่นต่อมา  begin(); ใช้ในการกำหนดการเริ่มต้นในการใช้งานจอ
           ฟังก์ชั่นต่อมา setCursor();ใช้ในการกำหนดตำแหน่งของ Cursor เช่น lcd.setCursor(0, 1); คือให้เคอร์เซอร์ไปที่ ตำแหน่งที่ 0 บรรทัดที่ 1 (การนับตำแหน่งเริ่มจาก 0)
           ฟังก์ชั่น print();  ใช้ในการกำหนดข้อความที่ต้องการแสดง เช่น lcd.print("ThaiEasyElec"); คือกำหนดให้แสดงข้อความ “ThaiEasyElec” ออกทางหน้าจอ LCD
ในบทความนี้เราจะใช้เพียงฟังก์ชั่นที่กล่าวถึงด้านบน ส่วนฟังก์ชั่นอื่นๆ สามารถดูได้จาก  Arduino.cc <<< คลิกได้เลยครับ
ตัวอย่างโค้ดโปรแกรม

#include <Wire.h>
#include <LiquidCrystal_I2C.h> //ประกาศ Library ของจอ I2C
// Set the LCD address to 0x27 for a 16 chars and 2 line display
LiquidCrystal_I2C lcd(0x27, 16, 2);
void setup()
{
// initialize the LCD
lcd.begin();
// Print a message to the LCD.
lcd.print("Hello !!!"); //ฟังก์ชั่นในการกำหนดข้อความที่ต้องการแสดงผล
lcd.setCursor(0, 1); //ฟังก์ชั่นในการกำหนดตำแหน่ง Cursor
lcd.print("ThaiEasyElec");
}
void loop()
{
}

ผลลัพธ์ที่ได้ตามรูปด้านล่างนะครับ !!!!




อ้างอิง
http://www.thaieasyelec.com/article-wiki/review-product-article/การใช้งาน-character-lcd-display-กับ-arduino-ตอนที่2-รูปแบบการเชื่อมต่อแบบ-i2c.html